มอเตอร์ DC 24v 500w (มีแปลงถ่าน)

มอเตอร์ 24VDC, มอเตอร์ 24 โวลท์ ดีซี 500W 2500RPM สำหรับทำปั๊มชัก สูบน้ำเพื่อการเกษตร

เป็นมอเตอร์ที่ทางร้านสั่งเข้ามาเพื่อนำมาใช้กับปั้มชัก,ปั้มเจท และปั้มอื่นๆที่จะต้องใช้มอเตอร์หมุน มาโดยเฉพาะ สามารถใช้งานร่วมกับระบบโซล่าเซลล์ได้โดยไม่ต้องต่อกับแบตเตอรี่เลยก็ได้ มอเตอร์รุ่นนี้สามารถนำมาใช้ได้กับทั้งระบบไฟหรือระบบโซล่าเซลล์ 12โวลท์ และ 24โวลท์
ยี่ห้อ/แบรนด์    Naite Motor
ประเภทชนิดมอเตอร์   ดีซี มอเตอร์ สกูตเตอร์
ขนาดกำลัง  24โวลท์ดีซี 500วัตต์
ความต้องการพลังงาน 12โวลท์ ดีซี, 24โวลท์ ดีซี
รอบที่ได้ 1200รอบ เมื่อใช้ไฟ 12โวลท์ดีซี 2500รอบ เมื่อใช้ไฟ 24โวลท์ดีซี

อายุการใช้งาน  5 ปี

สินค้ารับประกัน 6 เดือน

การนำมอเตอร์ดีซีขนาด 500W 24V ไปประกอบใช้งานในด้านต่า่งๆ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากคือ
- มอเตอร์ที่นำมาใช้งานเหมาะสมกับงานหรือไม่
- พิจารณาถึงรอบของมอเตอร์ จะต้องสัมพันธ์กันกับความต้องการของตัวอุปกรณ์ เพื่อไม่เกิดการเสียหายหรือด้อยประสิทธิภาพในการใช้งาน
- พิจารณาแรงบิดของมอเตอร์ ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ที่จะนำตัวมอเตอร์มาติดตั้งว่าใช้แรงบิดหรือรับน้ำหนักได้เท่าไหร่ เพื่อไม่ให้เกิดการโหลดใช้งานที่หนักเกินไปซึ่งจะทำให้มอเตอร์เกิดความเสียหาย
- พิจารณาระยะเวลาใช้งานต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเลือกใช้งานมอเตอร์เล็กเกินไป จะทำให้มอเตอร์ร้อนเร็วและเสียหายได้

เทคนิคการนำมอเตอร์ดีซี 500W 24V มาใช้งานร่วมกับปั๊มชัก
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการเกษตรของเราได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งโดยนำระบบโซล่าเซลล์นำมาประยุกต์ดัดแปลงใช้งานโดยการนำมาประกอบกับปั๊มชัก ปั๊มเจ๊ต ปั๊มเพลาลอย เพื่อต่อกับระบบโซล่าเซลล์เพื่อดูดใช้น้ำฟรี ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าและนำมันซึงช่วยลดต้นทุนทางการเกษตรไปได้มากทีเดียว สำหรับตอนนี้เราจะบอกเทคนิคในการประกอบปั้มชักง่ายๆโดยไม่ต้องซื้อสำเร็จจะประหยัดเงินได้พอสมควร แต่ถ้าใครไม่สะดวกประกอบเองก็สามารถหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายทั่วไป
การประกอบจะอธิบายง่ายๆแบบไม่ซับซ้อน(เพื่อไม่ต้องการให้ผู้ประกอบสับสนและดูยาก) ส่วนเจาะลึกในรายละเอียดทางเราจะโพสให้อีกครั้งนึง
1. วางแผนก่อนอันดับแรกว่าต้องการใช้น้ำมากน้อยและงบประมาณมากน้อยแค่ไหน

2. สำหรับมอเตอร์ขนาด 500W 24V ปั้มชักที่เหมาะสมคือขนาด 1นิ้วเท่านั้น (ถ้าใหญ่กว่านี้สามารถขับปั้มชักได้แต่จะร้อนเร็ว) ปั๊มชักขนาด 1นิ้วจะมีหลายขนาดลูกสูบ ก็เลือกกันไปตามความเหมาะสม
3. นำเอามอเตอร์มาถอดเฟืองเดิมออกเพื่อใสมู่เล่แทน(ทางร้านเรามี)
4. นำมอเตอร์ที่ใสมู่เล่แล้วนำมายึดบนฐานปั้มชักและนำสายพานขนาดพอดีใส่ปั้มชักและมอเตอร์เสร็จแล้วยึดน็อตให้แน่น
5. ลองเทสการหมุนของมอเตอร์โดยต่อเข้ากับระบบโซล่ราเซลล์ ซึ่งควรใช้แผงอย่างน้อย 600W จะต่อตรงเข้ามอเตอร์หรือผ่านแบตเตอรี่ก็ได้
6. เมื่อตรวจสอบการหมุนและเช็คทางเข้าออกน้ำถูกต้องแล้วให้นำท่อต่อทางด้านดูดจุ่มลงในน้ำ(ต้องมีหัวกระโหลกกันน้ำย้อน)
7. เติมน้ำไล่ลมที่ตัวปั้มชัก เสร็จแล้วลองเดินเครื่องว่าน้ำสามารถดูดขึ้นตามปกติไหม
8. หลังจากนั้นให้นำท่อต่อเข้ากับทางออกน้ำของตัวเครื่องและใช้งานได้ในทันที
เห็นไหมครับว่าการทำปั้มชักโซล่าเซลล์ไม่ได้มีอะไรยากเลย แต่มีจุดสังเกตและแนะนำที่ควรรู้ดังนี้

1.ถ้ามอเตอร์หมุนแต่น้ำไม่ขึ้น ให้ตรวจสอบ
   - หัวกระโหลกว่าน้ำไหลย้อนกลับไหม
   - การต่อท่อตั้งแต่ตัวเครื่องขาน้ำเข้า มีอากาศเข้าได้ไหม ซึ่งบางครั้งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (อากาศเข้าเพียงนิดเดียวน้ำก็ไม่ขึ้นครับ)
   - ไม่ควรต่อท่อขาดูดยาวมากจนเกินไป ยิ่งสั้นยิ่งดี นั่นหมายความว่าปั้มของท่านควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำนั้นๆ ถ้าจำเป็นต้องไกลสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเซตอุปกรณ์ให้ดี
   -  ถ้าดูทุกอย่างดีแล้วน้ำไม่ขึ้น อาจมีปัญหาที่ตัวปั้มชักเองอาจรั่วอากาศเข้า หรือลูกยางอาจมีปัญหา
2.ข้อควรระวัง
   - ไม่ควรต่อสายไฟจากระบบจ่ายไฟยาวเกินไปจะทำให้เกิดการสูญเสียในสายและแรงดันไฟตก ทำให้มอเตอร์ทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่ทำงานเลยก็ได้
  -  ควรระวังความร้อนที่ตัวมอเตอร์ ใช้งานแรกๆ ควรมั่นเช็คความร้อน ถ้าถึงขนาดจับไม่ได้เลย2-3วินาที ต้องปิดพักใช้งานทันที
  -  การแก้ไขปัญหามอเตอร์ร้อน แก้โดยวิธีง่ายๆโดยใช้พัดลมดีซีต่อสายเดียวกันเป่าที่ก้นมอเตอร์เพื่อระบายความร้อน
  -  ต้องการใช้มอเตอร์ทั้งวันแต่มอเตอร์ร้อนบ่อยลำบากที่ต้องปิดเปิดบ่อยๆ และป้องกันการหลงลืม แนะนำให้ใช้ ทามเมอร์รีเลย์ (ของเรามีจำหน่า่ย) ตั้งช่วงเวลาทำงาน และหยุดพักสลับกันได้ทั้งวัน (กรณีใช้ทามเมอร์รีเรย์ ควรต่อผ่านแบตเตอรี่เพื่อป้องกันการเสียหายตัวทามเมอร์)
ลองทำใช้งานดูกันนะครับ ติดปัญหาติดต่อสอบถามได้ที่ไอดีไล dd.best ได้ครับ

฿2,800
จำนวน: มีสินค้า
Visitors: 206,264